วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมดุลเคมี


สมดุล คือ สภาวะที่เราสังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อเวลาผ่านไป
สมดุล คือ สภาวะที่เราสังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อเวลาผ่านไป
เมื่อปฏิกิริยาเคมีเข้าสู่ สภาวะสมดุล ความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์จะคงที่
ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา เราจะสังเกตไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในระบบ
แต่ ในระดับโมเลกุล ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
-โมเลกุลของสารตั้งต้น ยังทำปฏิกิริยาเกิดเป็นโมเลกุลผลิตของภัณฑ์
-และโมเลกุลของผลิตภัณฑ์ยังทำปฏิกิริยาเกิดเป็นโมเลกุลของสารตั้งต้น

แนวคิดเรื่องสมดุล

  ความสัมพันธ์ระหว่างจลนศาสตร์เคมีกับสมดุลเคมี
สมมุติว่าปฏิกิริยาผันกลับได้ต่อไปนี้เกิดขึ้นด้วยกลไกที่ประกอบด้วย
กระบวนการขั้นเดียว ทั้งในทิศทางไปข้างหน้าและย้อนกลับ:

อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าคือ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนหลังคือ

ที่สมดุลอัตราของการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าจะเท่ากับย้อนกลับ



อัตราส่วนนี้คงที่ และมีค่าเท่ากับค่าคงที่สมดุล Kc
ดังนั้น การที่ Kc มีค่าคงที่เสมอไม่ว่าความเข้มข้นของสารในสมดุล
จะเปลี่ยนไปอย่างไรนั้นเป็นเพราะ Kc มีค่าเท่ากับอัตราส่วน kf/kr
ซึ่งมีค่าคงที่ที่อุณหภูมิคงที่
คราวนี้ลองสมมุติว่าปฏิกิริยาเดียวกันนี้เกิดขึ้นตามกลไกสองขั้น ดังนี้:





จะเห็นว่า โดยหลักการของจลนศาสตร์เคมี ค่าคงที่สมดุลก็คือ
อัตราส่วนระหว่างค่าคงที่อัตราของปฏิกิริยาไปข้างหน้ากับ
ค่าคงที่อัตราของปฏิกิริยาย้อนกลับ การวิเคราะห์แบบนี้ทำให้
เราทราบว่าเพราะเหตุใดค่าคงที่สมดุลจึงมีค่าคงที่และเปลี่ยนแปลง
ได้ตามอุณหภูม
ค่าคงที่สมดุลทำให้เราทราบอะไรบ้าง
ค่าคงที่สมดุลคำนวณได้จากความเข้มข้นของสารที่สมดุล
เมื่อทราบค่าคงที่สมดุลแล้วเราก็อาจ คำนวณหาความเข้มข้น
ที่ไม่ทราบค่าได้
ค่าคงที่สมดุลช่วยให้เราทำนายทิศทางการเกิดปฏิกิริยา
เข้าสู่สมดุลได้ และช่วยให้เราคำนวณความเข้มข้นของสารตั้งต้น
และสารผลิตภัณฑ์เมื่อระบบเข้าสู่สมดุลแล้วได้
การทำนายทิศทางของปฏิกิริยา
ผลหารปฏิกิริยา (reaction quotient, Qc) คือ
ปริมาณที่ได้จากการแทนค่าความเข้มข้นเริ่มต้นลงในสมการ
แสดงค่าคงที่สมดุล


ในการหาว่าปฏิกิริยาจะเข้าสู่สมดุลในทิศทางใด
ต้องเปรียบเทียบค่าของ Qc กับ Kc
ผลที่ได้จะเป็นหนึ่งในสามกรณีที่เป็นได้ต่อไปนี้
1. Qc > Kc
2. Qc = Kc
3. Qc < Kc
1. Qc > Kc
อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์กับสารตั้งต้น
มีค่าสูงเกินไป เพื่อเข้าสู่สมดุล สารผลิตภัณฑ์ต้องเปลี่ยนเป็น
สารตั้งต้น ระบบจึงเกิดปฏิกิริยาจากขวาไปซ้าย
(ผลิตภัณฑ์ลดลง สารตั้งต้นเพิ่มขึ้น) เพื่อเข้าสู่สมดุล
2. Qc = Kc
ความเข้มข้นเริ่มต้นคือความเข้มข้นที่สมดุล ระบบอยู่ในสมดุล
3. Qc < Kc
อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์กับสารตั้งต้น
มีค่าต่ำเกินไปเพื่อเข้าสู่สมดุล สารตั้งต้นต้องเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์
ระบบเกิดปฏิกิริยาจากซ้ายไปขวา (สารตั้งต้นลดลง ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น)
เพื่อเข้าสู่สมดุล
ตัวอย่าง

มีค่าคงที่อัตราเท่ากับ 54.3 ที่ 430oC สมมุติว่าในการทดลองครั้งหนึ่ง
เรานำ H2 0.243 mol, I2 0.146 mol และ HI 1.98 mol มารวมกันใน
ภาชนะขนาด 1.00 L ที่ 430oC ต้องการทราบว่าระบบจะเกิดปฏิกิริยา
ไปในทิศทางที่เกิด H2 และ I2 มากขึ้นหรือเกิด HI มากขึ้น
วิธีทำ
แทนค่าความเข้มข้นเริ่มต้นของสารทั้งหมดลงในสมการแสดง
ค่าคงที่สมดุลจะได้


ได้ว่า Q = 111 และ K = 54.3 นั้นคือ Q > K
การที่อัตราส่วนความเข้มข้นนี้( Q) มีค่าสูงกว่า K แสดงว่า
ระบบยังไม่อยู่ในสมดุล ดังนั้น HI บางส่วนจะเกิดปฏิกิริยาเป็น
H2 และ I2 (เพื่อให้อัตราส่วนนี้มีค่าลดลง) ปฏิกิริยาจึงเกิดขึ้น
ในทิศทางจากขวาไปซ้ายเพื่อเข้าสู่สมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลเคม
การเปลี่ยนแปลงสภาวะการทดลองอาจทำให้สมดุลถูกรบกวน
และทำให้ตำแหน่งของสมดุลเคลื่อนไปจากเดิม คือทำให้เกิด
สารผลิตภัณฑ์มากขึ้นหรือน้อยลงได้ ตัวแปรที่ควบคุมได้ในการทดลอง
ได้แก่ ความเข้มข้น ความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ
หลักของเลอชาเตอลิเยร
ถ้าระบบสมดุลถูกรบกวนโดยความเค้นจากภายนอก ระบบจะปรับตัว
ไปในทิศทางที่ทำให้ความเค้นนั้นมีผลน้อยลง คำว่า "ความเค้น"
ในที่นี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ความดัน หรืออุณหภูมิ
ที่ทำให้ระบบเคลื่อนออกจากสภาวะสมดุล
เราจะใช้หลักของเลอชาเตอลิเยร์ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษา
ผลของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต่อไป
1. การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
ไอร์ออน (III) ไทโอไซยาเนตมีสูตร Fe(SCN)3 ละลายได้ดีในน้ำ
ได้สารละลายสีแดง สีแดงนี้คือสีของไอออน FeSCN2+ ที่มีน้ำล้อมรอบ
สมดุลระหว่าง FeSCN2+ ที่ไม่แตกตัวกับ Fe3+ และ SCN- ไอออน คือ

ถ้าเติมโซเดียมไทโอไซยาเนต (NaSCN) เล็กน้อยลงในสารละลายนี้
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ในกรณีนี้ความเค้นที่รบกวนสมดุลคือการเพิ่มความเข้มข้นของ
SCN- ไอออน (ที่เกิดจากการแตกตัวของ NaSCN)
เพื่อที่จะลดความเค้นนี้ Fe3+ ส่วนหนึ่งจะทำปฏิกิริยากับ SCN-
ทำให้สมดุลเคลื่อนจากขวาไปซ้าย (สีแดงเข้มขึ้น)
ถ้าเติมไอร์ออน (III) ไนเตรต ([Fe(NO3)3] ลงในสารละลายเริ่มต้น
-มี Fe3+ ไอออนเพิ่มขึ้น สมดุลจึงเคลื่อนจากขวาไปซ้าย
-สีแดงของสารละลายก็จะเข้มขึ้น
คราวนี้ลองเติมกรดออกซาลิก (H2C2O4) ลงในสารละลายเริ่มต้นเล็กน้อย
กรดออกซาลิกแตกตัวในน้ำ ได้ออกซาเลตไอออน (C2O2-4) ซึ่งจะสร้าง
พันธะยึดติดกับ Fe3+ อย่างแน่นหนา เกิดเป็น Fe(C2O4)3-3 ซึ่งมีสีเหลือง
ทำให้ความเข้มข้นของ Fe3+ ในสารละลายลดลง FeSCN2+ จึงแตกตัว
และสมดุลจะเคลื่อนจากซ้ายไปขวา
ในกรณีนี้สารละลายสีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเนื่องจาก
เกิด Fe(C2O4)3-3 ไอออน
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าที่สภาวะสมดุลระบบมีทั้งสารตั้งต้น
และ ผลิตภัณฑ์อยู่ร่วมกัน การเพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์
(Fe3+ หรือ SCN-) จะทำให้สมดุลเคลื่อนไปทางซ้าย และถ้าลด
ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์คือ Fe3+ จะทำให้สมดุลเคลื่อนไปทางขวา
ผลการทดลองทั้งหมดนี้ต่างทำนายได้ด้วยหลักของเลอชาเตอลิเยร์ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดัน
ตามปกติการเปลี่ยนแปลงความดันมักไม่มีผลต่อความเข้มข้นของสาร
ในสถานะควบแน่น (เช่น ในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย)
เนื่องจากของเหลวและของแข็งมีปริมาตรที่ค่อนข้างคงที่แต่
ความเข้มข้นของแก๊สอาจเปลี่ยนแปลงได้มากเมื่อความดันเปลี่ยนไป

จะเห็นว่า P และ V มีความสัมพันธ์ผกผันกัน ยิ่งความดันมีค่าสูง
ปริมาตรก็ยิ่งน้อย และถ้าความดันมีค่าต่ำปริมาตรก็จะมีค่ามาก
(n/V) คือความเข้มข้นของแก๊สในหน่วย mol/L
และความเข้มข้นแปรผันโดยตรงกับความดัน

เกิดขึ้นในกระบอกสูบซึ่งมีลูกสูบที่เคลื่อนที่ได้ ถ้าเพิ่มความดันของแก๊ส
โดยกดลูกสูบลงที่อุณหภูมิคงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เนื่องจากปริมาตรเล็กลง ความเข้มข้น (n/V) ของทั้ง NO2 และ N2O4
จะเพิ่มขึ้น การเพิ่มความดันจึงทำให้ระบบจึงไม่อยู่ในสมดุลอีกต่อไป
ผลหารของปฏิกิริยาคือ

Q เทียบกับ K ?
จะได้ว่า Q > K
เมื่อ Qc > Kc ระบบจะเกิดปฏิกิริยาจากขวาไปซ้ายจนกระทั่ง Qc = Kc
ในทางตรงข้ามการลดความดัน (เพิ่มปริมาตร) จะทำให้ Qc < Kc
และจะเกิดปฏิกิริยาไปทางขวาจนกระทั่ง Qc = Kc อีกครั้งหนึ่ง
1. โดยทั่วไปการเพิ่มความดัน (ลดปริมาตร) จะทำให้ระบบเกิดปฏิกิริยา
ไปในทิศทางที่ทำให้จำนวนโมลรวมของแก๊สลดลง
2. และการลดความดัน (เพิ่มปริมาตร) จะมีผลทำให้จำนวนโมลรวม
ของแก๊สเพิ่มขึ้น
3. สำหรับปฏิกิริยาที่จำนวนโมลของแก๊สตั้งต้นกับแก๊สผลิตภัณฑ์เท่ากัน
การเปลี่ยนแปลงความดัน (หรือปริมาตร) จะไม่มีผลต่อสมดุลแต่อย่างใด
3. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ความดัน หรือปริมาตรอาจทำให้
ตำแหน่งของสมดุลเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม่อาจทำให้ค่าคงที่สมดุล
เปลี่ยนแปลงได้
ค่าคงที่สมดุลจะเปลี่ยนไปได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเท่านั้นปฏิกิริยาการเกิด NO2 จาก N2O4 เป็นกระบวนการดูดกลืนความร้อน


แต่ปฏิกิริยาย้อนกลับเป็นกระบวนการคายความร้อน



ที่สมดุลการดูดกลืนและการคายความร้อนจะหักล้างกันไป
ถ้าทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นที่ปริมาตรคงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
การให้ความร้อนจะช่วยให้ปฏิกิริยาการสลายตัวของ N2O2 เป็น NO2
ค่าคงที่สมดุลที่ได้จะเพิ่มขึ้นด้วย



การเกิด CoCl4-2 เป็นกระบวนการดูดกลืนความร้อน
เมื่อให้ความร้อนสมดุลจะเคลื่อนไปทางซ้ายและสารละลาย
จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
เมื่อทำให้เย็นลงปฏิกิริยาคายความร้อน[การเกิด Co(H2O)6+2]
เกิดได้ดีขึ้น สารละลายก็จะเปลี่ยนเป็นสีชมพ
สรุปผลการทดลองนี้ได้โดยย่อว่า
-การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาดูดกลืนความร้อนเกิดได้ดีขึ้น
-การลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาคายความร้อนเกิดได้ดีขึ้น
ผลของตัวเร่งปฏิกิริยา
ตัวเร่งสามารถเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาโดยลดพลังงานก่อกัมมันต์
(activation energy) ของปฏิกิริยาลง
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าตัวเร่งลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา
ไปข้างหน้าได้เท่ากับลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาย้อนกลับ
หมายความว่าปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับได้รับผล
จากตัวเร่งเท่ากัน
สรุป
การเติมตัวเร่งจะไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุลและต่อตำแหน่งสมดุล
ของระบบแต่อย่างใด
แต่การเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงในระบบที่ยังไม่อยู่ในสภาวะสมดุล
จะช่วยเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาทั้งไปข้างหน้าและย้อนกลับ
ทำให้ระบบเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้น
ความจริงระบบที่ไม่มีตัวเร่งก็ข้าสู่สภาวะสมดุลอยู่แล้ว
แต่ต้องใช้เวลานานขึ้น
ข้อสรุปเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจมีผลต่อตำแหน่งของสมดุล
สิ่งสำคัญที่ควรจำคือใน 4 วิธีนี้มีเพียงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเท่านั้น
ที่ทำให้ค่าคงที่สมดุลเปลี่ยนไปได้
-การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ความดัน และปริมาตรอาจทำให้
ความเข้มข้นที่สมดุลเปลี่ยนไปได้ แต่เปลี่ยนแปลงค่าคงที่ของสมดุล
ไม่ได้ตราบเท่าที่อุณหภูมิยังคงที่
ตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้ระบบเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้น
แต่ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของสารที่สมดุล

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี



ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์(สารใหม่) 

  เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของสารตั้งต้นจะลดลงขณะที่ปริมาณสารใหม่จะเพิ่มขึ้นจนในที่สุด

ก. ปริมาณสารตั้งต้นหมดไป หรือเหลือสารใดสารหนึ่งและมีสารใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ (ไม่เกิดสมดุลเคมี) 
                จากปฏิกิริยาบอกได้ว่า A และ B หมดทั้งคู่หรือเหลือตัวใดตัวหนึ่ง ขณะเดียวกันจะมีสารC เกิดขึ้น
ข. ปริมาณสารตั้งต้นยังเหลืออยู่(ทุกตัว) เกิดสารใหม่ขึ้นมา เรียกว่าปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์(เกิดสมดุลเคมี) ซึ่งจะพบว่า ความเข้มข้นของสารในระบบจะคงที่ (สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์) อาจจะเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้ 
            จากปฏิกิริยาบอกได้ว่าทั้งสาร A และ B เหลืออยู่ทั้งคู่ ขณะเดียวกันสาร C ก็เกิดขึ้น จนกระทั่งสมบัติของระบบคงที่
ชนิดของปฏิกิริยาเคมี
  • ปฏิกิริยาเนื้อเดียว (Homogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทุกตัวในระบบอยู่ในสภาวะเดียวกัน หรือ
  • ปฏิกิริยาเนื้อผสม (Heterogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นอยู่ต่างสภาวะกันหรือไม่กลมกลืนเป็นเนื้อ
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงในหนึ่งหน่วยเวลา
ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
  • อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate) หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ
หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
                ในแต่ละปฏิกิริยาเมื่อมีการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็จะมีหน่วยต่างๆกันขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่นำมาหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งหน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็คือหน่วยของปริมาณของสารที่เปลี่ยนแปลงในหนึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ เช่น
                ถ้าเป็นสารละลายจะใช้หน่วยความเข้มข้น คือ โมลต่อลิตรต่อวินาที หรือโมล.ลิตร-1วินาที-1 หรือ โมล/ลิตร.วินาที
                ถ้าเป็นก๊าซ จะใช้หน่วยปริมาตรคือลบ.ซม.ต่อวินาที หรือ ลบ.ดม.วินาที หรือลิตรต่อวินาที
                ถ้าเป็นของแข็งจะใช้หน่วยน้ำหนักคือกรัมต่อวินาที ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยที่ใช้กันมากคือเป็นโมล/ลิตร.วินาที

การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถหาได้จากสารทุกตัวในปฏิกิริยา แต่มักจะใช้ตัวที่หาได้ง่ายและสะดวกเป็นหลัก ซึ่งจะมีวิธีวัดอัตราการเกิดเป็นปฏิกิริยาหลายอย่าง เช่น
  • วัดจากปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น
  • วัดจากความเข้มข้นที่เปลี่ยนไป
  • วัดจากปริมาณสารที่เปลี่ยนไป
  • วัดจากความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
  • วัดจากความดันที่เปลี่ยนไป
  • วัดจากตะกอนที่เกิดขึ้น
  • วัดจากการนำไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป
เช่น การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยา
Mg(s) + 2HCl(aq)                 MgCl 2 (aq) +H 2 (g)
จะได้ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา =      อัตราการลดลงของ Mg
                                           =   1/2อัตราการลดลงของ HCl
                                           =    อัตราการเกิดขึ้นของ MgCl 2
                                           =    อัตราการเกิดขึ้นของ H2
ในที่นี้จะพบว่าการหาปริมาตรของก๊าซ H2 ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาจะง่ายและสะดวกที่สุด
นอกจากนี้ ค.ศ. Guldberg และ Waag ได้ตั้ง Law of Mass Action (กฎอัตราเร็วของปฏิกิริยา) ซึ่งกล่าวว่า อัตราการเกิดของปฏิกิริยามีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
ปฏิกิริยา                         aA +bB  ------->    cC+dD
                          

                                    Rate  = K[A]m[B]n
K          =          specific rate constant
m,n      =             อันดับของปฏิกิริยาในแง่ของสาร A และสาร B
m+n     =             อันดับของปฏิกิริยารวม
[A], [B] =             ความเข้มข้นของสาร
ซึ่งการหาค่า m และ n สามารถทำได้ดังนี้
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า และอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 2 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 1-->2m = 2 จะได้ m = 1
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 4 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->2m =4 จะได้ m = 2
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 8 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 3-->2m = 8 จะได้ m = 3
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 9 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->3m = 9 จะได้ m = 2
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง 27 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ -3-->3m = 1/27 จะได้ m = -3